ถ้ารู้จักกลุ่มเป้าหมายลูกค้าเป็นอย่างดี จะวางแผนแบบไหนก็ตั้งต้นง่ายไม่สับสน เพราะลูกค้าของเราไม่ใช่แค่คนหนึ่งคน แต่เป็นกลุ่มคนที่หลากหลาย การจะหาความชอบ ความสนใจ หรือสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าทั้ง 100% ให้ซื้อสินค้าของเราจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าเราไม่ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือแบ่ง Segmentation ของตลาดเสียก่อน
สำหรับความหมายของ Market Segmentation อธิบายโดยง่ายคือการแบ่งส่วนตลาดโดยที่เราพิจารณาจากเอกลักษณ์ ความชอบความสนใจ และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อให้สามารถแบ่งลูกค้าจากก้อนใหญ่ กลายเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามหมวดที่เราเลือกได้ และทำให้เราเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสารและทำการตลาดด้วยได้ชัดเจนขึ้น
แน่นอนว่าในฐานะเจ้าของแบรนด์ เราก็อยากขายสินค้าให้กับทุกคน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะต้องใช้งบประมาณและทรัพยการมากแค่ไหนถึงจะทำการตลาดให้เข้าถึงทุกคนได้? คำว่าทุกคนของเราคือเท่าไหร่? แล้วจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน แผนการตลาดที่เตรียมไว้สำหรับทุกคนจึงจะสำเร็จ?
เช่น ถ้าสินค้าของคุณคือแฟ้มใส่การ์ดศิลปิน K-pop คุณคิดว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีแน่ ๆ แต่ในกลุ่ม “แฟนคลับศิลปินเกาหลี” ก็มีความแตกต่างกัน พวกเขาอายุเท่ากันทั้งหมดไหม? รายได้ล่ะ เท่ากันหรือเปล่า? คนที่เป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลีวัยทำงาน กับกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีวัยเรียน กำลังซื้อเท่ากันไหม? ดังนั้นแค่ในกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี ก็มีความต่างกันในกลุ่มเช่นกัน จะสื่อสารไปที่เขาอย่างไรให้ตรงใจมากที่สุด
แค่คิดก็เห็นความยุ่งยากมหาศาลของการไม่ทำ Market Segmentation ก่อนแล้วใช่ไหมครับ
ดังนั้นความสำคัญของการทำ Market Segmentation คือจะช่วยให้เราสามารถสร้างโฆษณาได้ตรงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น, เราจะนำงบประมาณไปใช้กับการทำโฆษณาได้ตรงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมากขึ้น, ทำให้เราสามารถดูแลลูกค้าได้ดีขึ้น, มองเห็นจุดเด่นที่เราจะทำการตลาดได้ดีขึ้น และยังเป็นการทำให้แบรนด์ของเราโดดเด่นจากแบรนด์คู่แข่งได้อีกด้วย โดยการแบ่ง Market Segmentation อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละตำรา ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับรูปแบบสินค้าและบริการ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งกลุ่มตามลักษณะดังนี้
? Geographic: คือแบ่งลูกค้าตามพื้นที่ เช่น ประเทศ เมือง เป็นลูกค้าในเมือง หรือลูกค้าในชนบท
?? Demographic: แบ่งตามข้อมูลประชากร เช่น อายุ ศาสนา เพศ การศึกษา เงินรายได้
? Psychographic: แบ่งตามจิตวิทยา ความสนใจ เช่น ไลฟ์สไตล์ ความสนใจ งานอดิเรก
? Behavioral: แบ่งตามพฤติกรรม เช่น มี buyer journey stage เป็นแบบไหน, มีลักษณะความเป็น brand loyalty ไหม
? Media: แบ่งตามความสนใจสื่อต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย หนังสือ ประวัติการค้นหาในระบบ search engine
?Benefit: แบ่งตามผลประโยชน์ เช่น ความคาดหวังในเรื่องของการบริการลูกค้า คุณภาพของสินค้า
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการจัดกลุ่มตามลักษณะ ซึ่งเป็นเพียงวิธีที่มักจะพบได้บ่อย ๆ เท่านั้น แต่ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องทำ Market Segmentation ตามนี้ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและธรรมชาติของแต่ละแบรนด์ด้วยเช่นกัน
ซึ่งการจะเก็บข้อมูลเพื่อทำ Market Segmentation มีหลายวิธีเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจต่าง ๆ หรือใช้เครื่องมือออนไลน์ช่วยเก็บข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและความเหมาะสมของแบรนด์ และเมื่อแบรนด์สามารถจัด Market Segmentation ของตัวเองได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือการที่เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะตอบสนองต่อแผนการตลาดของเราได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการตลาดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือจะเป็นการจัดการตลาดกับอีกหลากหลายกลุ่ม เพื่อทำให้แผนการตลาดของเราเกิดผลลัพธ์ที่ต้องการสูงสุด
เพราะเมื่อเรารู้แล้วว่า Market Segmentation ตลาดกลุ่มลูกค้าของเราเป็นแบบไหน ก็จะง่ายต่อการวางแผนต่อไป มากกว่าการเดาสุ่มความสนใจของลูกค้าขึ้นเยอะ แทนที่จะต้องหาว่าจะขายของชิ้นนี้ยังไง ถ้ารู้ Market Segmentation ก่อนก็จะได้เอาของไปเสนอขายให้กลับกลุ่มที่กำลังมองหาของชิ้นนี้อยู่ได้ตรงใจขึ้นนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://bit.ly/3mNJch2
https://th.globallinker.com/…/%E0%B8%A3%E0%B8%B9…/26762
https://www.yieldify.com/blog/stp-marketing-model/
https://www.maxideastudio.com/…/market-segmentation…/
#Createxhouse #Createx #Segmentation