วันนี้เราจะพาไปอัปเลเวลกับ Gamification Marketing กลยุทธ์ที่หยิบเอาความสนุกของเกมมาทำการตลาดเพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับลูกค้า และยังเพิ่มความสนใจที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์มาให้ทุกคนรู้จักกันครับ
Gamification Marketing คืออะไร?
คือ การออกแบบกิจกรรม หรือแคมเปญทางการตลาดให้คนสนใจโดยใช้เทคนิคจากการเล่นเกม ที่มีระบบการจัดอันดับ (Ranking), การสะสมแต้ม (Points) หรือการมีของรางวัลให้ผู้ชนะ (Award) ที่ร่วมกิจกรรม ผ่านหลักการทางจิตวิทยาของ Pavlov ที่ใช้สิ่งเร้าในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายทำตามที่ต้องการ โดยให้รางวัล มีผู้แพ้ ผู้ชนะ จึงเกิดแรงขับเคลื่อนทางอารมณ์ที่อยากจะเอาชนะ ซึ่งช่วยจูงใจลูกค้าให้ร่วมแคมเปญไปจนถึงซื้อสินค้าและบริการ
นอกจากนี้ Gamification Marketing ถูกนำไปปรับใช้เพื่อวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ตั้งแต่การสร้างแบรนด์ Awareness, เก็บฐานข้อมูลลูกค้าและแยกระดับลูกค้า, เพิ่ม Engagement, จนไปถึงการสร้างความสนุก ตื่นเต้น ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
ข้อดีของการใช้ Gamification Marketing
- ช่วยสร้าง Brand Loyalty
ยุคนี้การทำให้ลูกค้าผูกพันและจงรักภักดีต่อแบรนด์นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การใช้ Gamification Marketing จะช่วยดึงดูดลูกค้าด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการสะสมแต้มจากการซื้อของ จนไปถึงเพิ่มระดับของสมาชิก ยิ่งระดับสูงยิ่งได้รับสิทธิพิเศษ วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกค้ามี Brand Loyalty จากการสะสมคะแนนตัวเองเอาไว้ หากคิดเปลี่ยนใจไปแบรนด์อื่น ก็ต้องเสียดายผลประโยชน์ที่เก็บไว้
. - สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า นอกจากหน้าตาสินค้าและตัวสินค้าเองแล้ว ความสนุกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ Gamification Marketing เลยถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่แบรนด์จะเอาเข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น Nike ที่ออกแบบแอปพลิเคชัน Nike Run Club มาช่วยให้ผู้ใช้สนุกไปกับการวิ่งมากขึ้น โดยนำเอาระบบของภารกิจ (Quest) มาให้ผู้ใช้ได้ทำในแต่ละวันเพื่อปลดล็อก Achievement ต่าง ๆ, มีระบบการจัดอันดับ (Ranking) ที่ให้ผู้ใช้สามารถเปรียบเทียบวัดฝีเท้ากับคนอื่นและแชร์ลงโซเชียลไปขิงเพื่อนได้ รวมทั้งยังมีการสร้างแรงจูงใจระหว่างใช้แอปฯ ให้ผู้ใช้ไปต่อได้เรื่อย ๆ ด้วยเพลย์ลิสต์จาก Apple Music หรือเสียงเชียร์จากนักกีฬาชั้นนำ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าที่ใช้ Nike มีประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น โดย Nike จะได้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้งาน เพื่อนำไปปรับกลยุทธ์การตลาด รวมถึงยังได้พื้นที่โฆษณาไปแบบฟรี ๆ จากการแชร์ความสำเร็จของผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียอีกด้วยครับ - ใช้ได้ดีทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดสูงมากในทุกช่องทาง ทำให้แบรนด์ต้องหากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการขาย โดย Gamification Marketing สามารถปรับใช้ได้หลายแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ทำให้ตอบโจทย์การใช้งาน อย่างในออนไลน์ที่ Shopee มีระบบปลูกต้นไม้ ‘Shopee Farm’ ที่ถ้าเราทำให้ต้นไม้โตจะได้รับ Coins หรือคูปองส่วนลดมาใช้งาน ซึ่งหากเราอยากให้ต้นไม้โตเร็ว ต้องรดน้ำบ่อย ๆ ทำให้ต้องเข้าแอปฯหรือชักชวนเพื่อนมาใช้แอปฯเพื่อรดน้ำให้ต้นไม้โตเร็วขึ้น ทำให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าทำได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เรามีโอกาสเห็นสินค้าลดราคาที่เราอยากได้จนนำไปสู่การซื้อสินค้าได้ในที่สุด ในส่วนของออฟไลน์ได้มีการปรับใช้อย่างการซื้อกาแฟ หรือชานม ทางร้านจะให้บัตรสะสมแสตมป์ เมื่อซื้อครบตามที่ร้านกำหนดไว้จะได้รับเครื่องดื่มฟรี นั่นจึงทำให้เราอยากซื้อสินค้า หรือชักชวนเพื่อนมากินเพื่อสะสมแสตมป์ให้ครบ เป็นหนึ่งในวิธีที่ร้านดึงคนเข้ามาซื้อสินค้าครับ �
แบรนด์ไหนอีกบ้างที่ทำ Gamification Marketing
TMRW by UOB แอปฯธนาคารที่ดึงดูดคนใช้งานโดยสร้างความแปลกใหม่ให้กับการออมเงิน ด้วยระบบต่าง ๆ ทั้งการฝากเงิน การจ่ายบิล ที่ทำออกมาได้เหมือนกับการเล่นเกม มีระบบสร้างเมืองยิ่งหากเราฝากเงินเยอะขึ้น เมืองก็จะอัปเลเวลและขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งทำมาเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าตั้งแต่เจน Y ลงไปยังคนรุ่นใหม่นั่นเอง
M&M แบรนด์ช็อกโกแลตโปรดของใครหลายคน ได้เคยจัดแคมเปญผ่าน Facebook ในช่วงเปิดตัวสินค้าใหม่รสเพรทเซล พร้อมเชิญชวนให้คนมาช่วยกันหา Pretzel Guy ที่ซ่อนอยู่ในภาพที่เต็มไปด้วยช็อกโกแลต M&M หลังจากโพสต์ลงไปแล้วปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีมากผ่านจำนวน Engagement ที่เห็นได้ชัดว่า User เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเห็นว่าถึงแม้จะเป็นเกมที่ง่าย ใช้ต้นทุนน้อย แต่ก็ช่วยกระตุ้นให้คนที่มาเล่นรู้สึกท้าทาย จนเกิดการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และผู้ติดตาม
Line Man แอปฯสั่งอาหารยอดนิยมที่ทุกคนรู้จักกันดี ที่ออก Minigame ให้ผู้ใช้แอปฯเล่นกันโดยสวมบทเป็นไรเดอร์ไลน์แมนมาซิ่งเก็บของขวัญในเกม โดยต้องบังคับมอเตอร์ไซค์ไม่ให้ชนรถคันอื่น หรือตกฟุตบาท ซึ่งในแต่ละวันเราจะได้รับ 1 เหรียญเพื่อใช้ในการเล่นเกม 1 ครั้ง แต่หากอยากได้เหรียญเพิ่มก็สามารถแชร์ลิงก์หรือส่งเกมให้เพื่อนเพื่อรับเหรียญเพิ่มได้ในแต่ละวัน ซึ่งตรงนี้เองทำให้มีคนเข้ามาใช้แอปฯ Line Man สั่งอาหารเยอะขึ้นจากการได้รับของขวัญเป็นส่วนลดค่าอาหารในแอปพลิเคชัน
สรุป
Gamification Marketing ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่มีความสนุกสนาน มีลูกเล่นที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้ดี ทั้งยังสร้างความเป็นมิตร ไปจนถึงสร้างภาพจำให้กับแบรนด์ และยังสามารถนำไปปรับใช้ได้หลากหลายตามความเหมาะสมตามลักษณะของสินค้าหรือบริการที่มีฐานลูกค้าที่ต่างกันไปครับ
.
ฝากติดตามคอนเทนต์การตลาดดี ๆ ได้ที่ http://www.createxhouse.com/
.
– https://workpointtoday.com/news-gen-gamification/
– https://stepstraining.co/strategy/gamification-marketing-for-business
– https://adaddictth.com/knowledge/Gamification-Marketing
– https://www.everydaymarketing.co/knowledge/gamification-marketing/?fbclid=IwAR3QxwBusKND7elBqFiPXCliQKfctqB-1ucVgnhAUM9TXA2q6cCZmPBN1ek
– https://www.everydaymarketing.co/knowledge/gamification-marketing/?fbclid=IwAR3QxwBusKND7elBqFiPXCliQKfctqB-1ucVgnhAUM9TXA2q6cCZmPBN1ek
– https://www.warc.com/content/paywall/article/bestprac/what-we-know-about-gamification-as-a-research-method/en-GB/110480?fbclid=IwAR1lT7OuCu2a_AX-mAQo-0jXV1_R14peEkCgtnx-BSd7MjO1AP3j_CysITU
– https://www.facebook.com/GrowthGameIdea/posts/202630962330239