Skip to content
image

“แบรนด์-เนม” เทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์ฉบับรวบรัด

การแนะนำตัวที่สั้นที่สุดของแบรนด์ คือ “ชื่อเรียก” เราจะสามารถสื่อสารถึงตัวตนของเราจนลูกค้าติดหู ติดใจ แล้วจำได้ หรือได้ยินชื่อแล้วลืมไปเลยว่าเราเป็นใคร ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งชื่อนี่แหละครับ นับวันแบรนด์คู่แข่งก็ยิ่งเปิดตัวเยอะขึ้น แล้วจะทำอย่างไรล่ะให้ลูกค้าจำได้ วันนี้เราเลยมีขั้นตอนการตั้งชื่อแบรนด์ฉบับรวบรัด เพื่อใครอยากจะลองสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาจะได้เอาไปปรับใช้ดูครับ

? ขั้นที่ 1: หาให้เจอว่าหัวใจของแบรนด์คุณคืออะไร

ก่อนจะตั้งชื่อ เราต้องรู้ว่าแบรนด์เราเป็นใคร ทำอะไร มีวัตถุประสงค์ในการสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาอย่างไร วิสัยทัศน์ของแบรนด์ที่มีคืออะไร เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญ ที่คุณควรรู้ก่อนจะตั้งชื่อให้แบรนด์ครับ

? ขั้นที่ 2: หาให้เจอว่าเราต่างจากคนอื่นยังไง

เข้าใจหัวใจของแบรนด์เราแล้วก็จริง แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เราโดดเด่น แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ รอบข้าง เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์เลยครับ

? ขั้นที่ 3: ระดมสมอง ยำไอเดียเข้าด้วยกัน

เมื่อเราพอจะมีข้อมูลแล้วว่าหัวใจของแบรนด์เราคืออะไร เรามีวัตถุประสงค์ของแบรนด์แบบไหน แตกต่างจากคนอื่นอย่างไรบ้าง ก็ถึงเวลาที่คุณจะระดมสมอง โดยคุณอาจจะวางโจทย์ไว้คร่าว ๆ ก่อนว่าสิ่งที่ต้องการจากการระดมสมองครั้งนี้คืออะไร เช่น อยากให้ชื่อแบรนด์เป็นสิ่งที่บอกตัวตน + อยากให้คนได้ยินแล้วรู้สึกสบายใจ จากนั้นก็โยนไอเดียใส่กันเต็มที่ได้เลยครับ

⭐️โดย Tips พิเศษสำหรับขั้นตอนนี้ก็คือ ถ้าเรานึกไม่ออกจริง ๆ ว่าชื่อแบรนด์จะสามารถตั้งแบบไหนได้บ้าง เราอาจจะลองดูจากรูปแบบของชื่อแบรนด์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เอามาเป็นไอเดียได้ครับ อย่างเช่นถ้าเราสังเกต แบรนด์มักจะตั้งชื่อโดยใช้รูปแบบดังนี้ครับ

⭐️ใช้ชื่อเจ้าของหรือคนก่อตั้งมาเป็นชื่อแบรนด์ ex: Disney 

⭐️ใช้ชื่อที่ตั้งใหม่ จดทะเบียนง่าย ไม่ซ้ำใคร ex: Twitter 

⭐️ใช้ชื่อที่อธิบายถึงแบรนด์ของเราไปเลย ว่าทำอะไร ex: THAI AIRWAYS, 

⭐️ใช้ชื่อที่เป็นอักษรย่อ ex: KFC (Kentucky Fried Chicken),  BMW (Bavarian Motor Works)

ลองหารูปแบบเหล่านี้มาดูประกอบอาจจะทำให้คิดออกง่ายขึ้นครับ

⭐️และอีกข้อที่ควรนึกไว้เสมอก็คือ “อย่าลืมว่าเป้าหมายของเราจะสื่อสารกับใคร” จงตั้งชื่อให้เหมาะกับกลุ่มนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นการตั้งชื่อขนมเด็ก ๆ ชื่ออย่าง โมจิโมจิ ก็จะฟังดูน่ารักเหมาะกับวัย แต่ถ้าไปใช้ตั้งเป็นชื่อองค์กรการกุศลก็อาจจะไม่เหมาะนั่นเองครับ ดังนั้นระหว่างระดมสมอง อย่าลืมหันกลับมามองกลุ่มเป้าหมายด้วยครับ

? ขั้นที่ 4: เช็กก่อนว่าซ้ำไหม

หลังจากขั้นตอนที่ 3 ชื่อที่ได้มาจากทีมอาจจะมีเยอะมาก และบางทีคุณก็อาจจะตกหลุมรักบางชื่อไปแล้ว แต่ถ้ามันซ้ำกับแบรนด์ที่มีอยู่แล้วก็คงต้องหันไปหาตัวเลือกอื่น ๆ ซึ่งก็จะช่วยตัดตัวเลือกที่ระดมสมองกันมาให้น้อยลงไปได้บ้างครับ

? ขั้นที่ 5: ทดลองใช้

คิดชื่อกันเองในทีม อาจจะสนุกกันเองแค่ในทีม ดังนั้นเราต้องลองเอาชื่อแบรนด์เจ๋ง ๆ น้ีไปทดสอบดูครับ โดยวิธีการง่าย ๆ ที่ทางเว็บไซต์ Column Five แนะนำไว้ก็คือให้คุณเลือกมา 2-3 ชื่อที่เข้ารอบ ทำ Mock up ของโลโก้, สินค้าตัวอย่าง และหน้าเว็บไซต์ที่จะทดลอง จากนั้นก็ลองทำ Branded landing page  โดยมีหน้าตาเพจเหมือนกันเป๊ะ ต่างกันแค่โลโก้ ชื่อแบรนด์ และคำโปรย รันโฆษณาบนเพจสัก 1 สัปดาห์ ลองดูว่าเพจไหนได้รับเสียงตอบรับดีกว่ากันแล้วค่อยตัดสินใจอีกที

และนี่ก็เป็นเพียง 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการสร้างชื่อแบรนด์แบบรวบรัด พอเป็นไอเดียให้คุณได้เห็นขั้นตอนการตั้งชื่อแบรนด์กันแล้วใช่ไหมครับ แต่รายละเอียดของการตั้งชื่อแบรนด์จริง ๆ อาจจะมีมากกว่านี้อีก ซึ่งต้องอาศัยทั้งความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ และความชำนาญของทีมที่จะช่วยคุณวางแผนโปรโมตระยะยาว เพราะชื่อแบรนด์อาจจะเป็นส่วนสำคัญในการแนะนำตัวให้คนจำ แต่จะทำอย่างไรให้แบรนด์ของเราโดดเด่นมากกว่าแค่ชื่อ ไว้ผมจะนำมาเล่าให้ฟังกันใหม่ในโอกาสหน้านะครับ 

#CreatexHouse #Createx #Marketing #BrandName

ข้อดี Interactive Content กระตุ้น Engagement ให้พุ่งทะยาน!
จะไฟนอลกี่เวอร์ชันก็เลือก “นามสกุลไฟล์” ให้ถูก
เคล็ดลับเจาะตลาดวัยเก๋าให้โดนใจ ทำอย่างไรได้บ้าง?